มาตรฐานสากลใน ECO Sticker มีอะไรบ้างUN R83มาตรฐานสากลข้อกำหนดทางเทคนิค UN R83 คือ การทดสอบมาตรฐานมลพิษของรถยนต์สำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์บรรทุก และรถยนต์นั่งที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์บรรทุก ซึ่งทางสหประชาชาติ (UN) ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงข้อกำหนดมาตรฐานมลพิษให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ล่าสุด เป็นระดับ Euro 6 (ดีที่สุด)) โดยในส่วนของประเทศไทยนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดให้รถยนต์ทุกคันจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานมลพิษตาม มอก. (มาตรฐานบังคับ) ซึ่งเทียบได้กับมาตรฐาน Euro 4 ของสหประชาชาติ (UN)การทดสอบมาตรฐานมลพิษของรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน (แก๊สโซลีน) และรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน ตาม UN R83 จะมีความแตกต่างกัน โดยในส่วนของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน (แก๊สโซลีน) นั้น จะประกอบด้วยการทดสอบ 7 ลักษณะ ดังนี้ลักษณะที่ 1 : ปริมาณสารมลพิษภายหลังการติดเครื่องขณะเย็นลักษณะที่ 2 : ปริมาณคาร์บอนมอนอกไซด์ในขณะเครื่องยนต์เดินเบาลักษณะที่ 3 : ปริมาณสารมลพิษจากห้องข้อเหวี่ยงลักษณะที่ 4 : ปริมาณสารมลพิษไอระเหย มีค่ามาตรฐานของการทดสอบรับรองเฉพาะแบบการลักษณะที่ 5 : ความทนทานของอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษลักษณะที่ 6 : การทดสอบปริมาณสารมลพิษจากรถยนต์ที่อุณหภูมิต่ำ (-7 °C)ลักษณะที่ 7 : การทดสอบระบบวินิจฉัยอุปกรณ์ควบคุมสารมลพิษ
UN R101มาตรฐานสากลข้อกำหนดทางเทคนิค UN R101 คือ การทดสอบหาอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้ Gas Analyzer ซึ่งเป็น Flow Meter ที่มีความเที่ยงตรงที่สุด โดยการทดสอบจะกระทำในห้องปฏิบัติการที่ได้ควบคุจะกระทำโดยการนำรถยนต์ทดสอบ มาวิ่งบนแชสซีส์ไดนาโมมิเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ณ ระดับความเร็วต่างๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนดในรูป

การทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะในเมือง (Urban Condition) จำนวน 4 วัฎจักร รวมระยะเวลา 780 วินาที ส่วนช่วงที่สอง เป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะนอกเมือง (Extra-Urban Condition) จำนวน 1 วัฎจักร รวมระยะเวลา 400 วินาที รวมเวลาที่ใช้ทั้งสิ้นเป็น 1,180 วินาที โดยความเร็วจริงของการขับเคลื่อนสามารถจะคลาดเคลื่อนจากความเร็วที่กำหนดไม่เกิน ±2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระหว่างการขับเคลื่อนรถยนต์ทดสอบ จะมีการเก็บตัวอย่างการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ทดสอบซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรคาร์บอน (HC), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อนำปริมาณการปล่อยไอเสียจากรถยนต์ และความหนาแน่นของเชื้อเพลิงทดสอบ (Reference Fuel) มาใช้ คำนวณหาอัตราการใช้เชื้อเพลิงในแต่ละสภาวะต่อไปเมื่อคำนวณหาอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของสภาวะในเมืองและนอกเมืองได้แล้ว ก็จะนำ ค่าอัตราการใช้เชื้อเพลิงทั้งสองสภาวะ พร้อมกับระยะทางเทียบเท่าของแต่ละสภาวะ ไปคำนวณอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิงหรือปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวม (Combined Condition) ต่อไป อัตราการใช้น้ำมันอ้างอิงที่ได้จากการทดสอบตามมาตรฐาน UN R101 มีลักษณะสำคัญดังนี้- เป็นการทดสอบรถยนต์ภายในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025
- ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอ้างอิงในการทดสอบ (Reference Fuel)
- มีวิศวกรของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ/หรือ หน่วยงานความคุมทางเทคนิค (Technical Service) ที่ได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิก UN WP29 กำกับดูแลตลอดการทดสอบ
- ได้รับการตรวจรับรองผลการทดสอบจาก สมอ. และ/หรือ ประเทศสมาชิก UN และมี Emark รับรองผล
UN R13Hมาตรฐานสากลข้อกำหนดทางเทคนิค UN R13H (The approval of passenger cars with regard to braking) ประกอบด้วยการทดสอบ 7 ลักษณะ ดังนี้ 1) การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกเย็น (Type O) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงและระยะทางในการหยุดรถ ในแต่ละสภาวะ ดังนี้ 1.1 สภาวะปกติที่ระบบเบรกทำงานอย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย การทดสอบรถยนต์ที่ 2 ระดับความเร็ว ได้แก่ ระดับความเร็วปกติ คือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และระดับความเร็วสูง (ร้อยละ 80 ของความเร็วสูงสุด แต่ไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 1.2 สภาวะระบบเบรกวงจรซ้ายหรือขวา ไม่ทำงาน 1.3 สภาวะหม้อลมช่วยเบรกไม่ทำงาน 1.4 สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS : Antilock Braking System) ไม่ทำงาน 1.5 สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS : Antilock Braking System)/ ระบบกระจายแรงเบรก (EBD : Electronic Brake Force Distribution) ไม่ทำงานทั้งนี้ การทดสอบข้างต้น จะกระทำทั้งกรณีมวลบรรทุกสูงสุด (Laden) และมวลรถเปล่า (Unladen) รวมทั้ง การทดสอบในกรณีเครื่องยนต์ดับ 2) การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกร้อน (Type I) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในสภาวะที่มีความร้อนสะสม ทั้งในกรณีความร้อนสะสมสูงและความร้อนสะสมไม่สูง โดยการจำลองสถานการณ์การเบรก จำนวนหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อทาให้เบรกร้อนขึ้น หลังจากนั้น จึงทดสอบการทำงานของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 3) การทดสอบเบรกมือ เป็นการทดสอบความสามารถในการจอดรถบนพื้นเอียง ที่มีระดับความชันร้อยละ 20 (กรณีมวลบรรทุกสูงสุด) และระดับความชันร้อยละ 12 (กรณีมวลบรรทุกสูงสุด+Trailer) เพื่อวัดค่าแรงที่ใช้ในการเบรกจากมือและเท้า รวมทั้งความสามารถในการหยุดรถ ที่ระดับความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้เบรกมือ 4) การทดสอบระบบช่วยเหลือการเบรก (BAS : Brake Assist System) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบช่วยเหลือการเบรก (ระบบควบคุมแรงเบรก) 5) การทดสอบระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS : Antilock Braking System-ABS) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ABS ซึ่งโดยหลักการแล้ว ประสิทธิภาพในการเบรกเมื่อ ระบบ ABS ทำงาน (ด้วยการจับ-ปล่อยเบรกเป็นบางช่วง) จะต้องไม่ส่งผลให้ความสามารถในการเบรกลดต่ากว่าค่าที่กำหนด (ไม่ต่ากว่าร้อยละ 75 ของแรงเบรกสูงสุด) ทั้งนี้ จะมีการทดสอบสมรรถนะของ ABS ในการหยุดรถบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ ดังนี้ 5.1 การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง (Hi-μ) 5.2 การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่า (Low-μ) 5.3 การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูงไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่า 5.4 การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่าไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง 5.5 การหยุดรถในกรณี ล้อของรถด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง และล้อของรถอีกด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่านอกจากนี้แล้ว ยังมีการทดสอบการทำงานของระบบไฟเตือน และสภาพการวิ่งของรถยนต์ในขณะเบรกในกรณีที่ระบบ ABS ไม่ทำงาน รวมทั้ง การทดสอบการทำงานของระบบ ABS ภายใต้การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility) อีกด้วย 6) การทดสอบสัญญาณไฟฉุกเฉิน (Emergency Stop Signal)เป็นการทดสอบการให้สัญญาณไฟฉุกเฉินซึ่งจะต้องทำงาน หากมีการเบรกอย่างแรง (กรณีฉุกเฉิน) 7) การทดสอบระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Stability Control System-ESC System) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ESC โดยการสร้างสถานการณ์การหลบหลีกกะทันหันในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติควบคุมการหักเลี้ยวรถยนต์ไปกลับอย่างกะทันหัน (องศาการเลี้ยวสูงสุดที่ 270 องศา) ทั้งนี้ รถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานจะต้องไม่เสียหลักและยังคงรักษาทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือ มีการเบี่ยงเบนได้ไม่เกินค่าที่กำหนด
UN R94 + R95มาตรฐานสากลข้อกำหนดทางเทคนิค UN R94 (Protection of the occupants in the event of a frontal collision) คือ การทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้องผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าข้อกำหนดทางเทคนิค UN R94 จะเป็นการทดสอบโดยรถยนต์ทดสอบ ซึ่งมีหุ่นจำลอง (Dummy)ของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เคลื่อนที่โดยใช้เครื่องมือฉุดลาก ด้วยความเร็วระหว่าง 56–57 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พุ่งเข้าชนแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้แบบเยื้องศูนย์ด้านหน้า 40% ของรถยนต์ (พื้นที่ปะทะด้านคนขับคิดเป็นร้อยละ 40 ของความกว้างรถยนต์)
ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้- สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่คอ, โมเมนต์ดัดที่คอ, การรับแรงที่หน้าอก, Viscous Criterion, แรงกดที่หน้าแข้ง, การเคลื่อนตัวของข้อต่อหัวเข่า และการรับแรงที่ขา ดังนี้
- การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
- การเคลื่อนที่ของพวงมาลัย (Steering Movement) ต้องไม่สูงเกินกว่า 80 มิลลิเมตรในแนวดิ่ง และต้องไม่เคลื่อนตัวไปในข้างหลังในแนวระดับ 100 มิลลิเมตร)
- ต้องเปิดประตูได้อย่างน้อยหนึ่งประตูและสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
- ต้องปลดล๊อกระบบ Restraint โดยใช้แรงไม่เกิน 60 นิวตัน
ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 (Protection of the Occupants in the event of a Lateral Collision) คือการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในเรื่องการปกป้อง ผู้ขับขี่จากการชนด้านข้างข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 จะเป็นการทดสอบโดยนาแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ (Deformable Barrier) เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่ง ในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภายหลังการชน จะมีการตรวจสอบดังนี้- สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว ,การบาดเจ็บที่หน้าอก, Soft Tissue Criterion, แรงกดหน้าท้อง และแรงกดที่หัวหน่าว ดังนี้
- การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Leakage) และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที
- ต้องสามารถนาหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้
- ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกัน (Protective System) ได้
- ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทาให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
UN R100มาตรฐานสากลการทดสอบระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้าของรถยนต์ ตามมาตรฐาน UN R100รถยนต์ที่มีระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า ควรมีการทดสอบมาตรฐานด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้าของรถยนต์ ในการป้องกันไฟฟ้าช็อก (Electric Shock) จากการสัมผัสโดยตรง อาทิ การป้องกันตามมาตรฐาน IPXXD ด้วยสายทดสอบ (Test wire) สำหรับชิ้นส่วนที่มีไฟฟ้าภายในห้องโดยสารหรือในห้องเก็บสัมภาระ และการป้องกันตามมาตรฐาน IPXXB ด้วยนิ้วทดสอบ (Test finger) สำหรับชิ้นส่วนที่ไฟฟ้าในบริเวณอื่นนอกเหนือจากภายในห้องโดยสารหรือในห้องเก็บสัมภาระ การป้องกันจากการสัมผัสโดยอ้อม และความต้านทานการแยกกันทางไฟฟ้าในส่วนการทดสอบมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้าของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่อัดประจุซ้ำได้ (Rechargeable Energy Storage Systems - REESS) มีดังนี้1. การทดสอบการสั่นสะเทือน (Vibration Test) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของ REESS ภายใต้สภาพแวดล้อมการสั่นสะเทือน ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นกับ REESS ในระหว่างการใช้งานปกติของรถยนต์ เช่น การขับเคลื่อนบนพื้นผิวการจราจร ทดสอบโดยการสั่นสะเทือน REESS ในทิศทางแนวตั้งด้วยคลื่นรูปแบบไซน์ที่มีการกวาดแบบลอการิธึ่มระหว่างความถี่ 7 Hz และ 50 Hz และกวาดกลับไปที่ความถี่ 7 Hz ภายใน 15 นาที ทำซ้ำ 12 ครั้ง ภายในเวลารวม 3 ชั่วโมง2. การทดสอบวัฏจักรและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิฉับพลัน (Thermal Shock and Cycling Test) เพื่อตรวจสอบความทนทานของ REESS ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทันทีทันใด การเร่งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็วซึ่งน่าจะเกิดขึ้นกับ REESS ระหว่างอายุการใช้งาน ทดสอบโดยเก็บ REESS ไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 60 °C หรือสูงกว่าอย่างน้อย 6 ชั่วโมง จากนั้นเปลี่ยนอุณหภูมิจัดเก็บที่ประมาณ – 40 °C หรือต่ำกว่าอย่างน้อย 6 ชั่วโมง โดยช่วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดต้องไม่เกิน 30 นาที ทำซ้ำอย่างน้อย 5 รอบ3. การเปลี่ยนแปลงความเร่งฉับพลัน (Mechanical Shock) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของ REESS ภายใต้โหลดแรงเฉื่อย (Inertial Loads) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการชนของยานพาหนะ REESS จะถูกเร่งหรือหน่วงให้สอดคล้องกับขอบเขตความเร่งที่กำหนด4. ความสมบูรณ์เชิงกล (Mechanical Integrity) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของ REESS ภายใต้ภาระสัมผัส (Contact Loads) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างสถานการณ์การชนของยานพาหนะ ทดสอบโดย REESS จะต้องถูกบดระหว่างตัวต้านทาน (Resistance) และแผ่นบดด้วยแรงอย่างน้อย 100 kN (ประมาณ 10 ตัน) หรือทดสอบแบบพลวัต โดย REESS ที่ติดตั้งในรถยนต์ที่ทำการทดสอบการชนตาม UN R94 สำหรับการชนด้านหน้า และ UN R95 สำหรับการชนด้านข้าง5. การป้องกันการลัดวงจรภายนอก (External short circuit protection) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของการป้องกันการลัดวงจร ในการขัดขวางหรือจำกัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจเกิดกับ REESS ทดสอบโดยการทำให้เกิดการลัดวงจรต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถยืนยันการทำงานของการป้องกันการลัดวงจร6. การป้องกันการอัดประจุไฟฟ้าเกิน (Overcharge protection) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของการป้องกันการอัดประจุไฟฟ้าเกิน ทดสอบด้วยอัตราการอัดประจุกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 1/3 C (C Rate) อย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง REESS ถูกขัดขวางหรือจำกัดการอัดประจุโดยอัตโนมัติ หรือจนกระทั่ง REESS ได้รับการอัดประจุเป็น 2 เท่าของความจุการอัดประจุพิกัด7. การป้องกันการคายประจุไฟฟ้าเกิน (Over-Discharge Protection) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะการป้องกันการคายประจุไฟฟ้าเกิน ทดสอบด้วยอัตราการคายประจุกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย 1/3 C (C Rate) อย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง REESS ถูกขัดขวางหรือจำกัดการคายประจุโดยอัตโนมัติ หรือจนกระทั่ง REESS ได้รับการคายประจุจนถึง 25% ของระดับแรงดันที่ระบุ (Nominal Voltage)8. การป้องกันอุณหภูมิสูงเกิน (Over-Temperature Protection) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะของมาตรการการป้องกันความร้อนภายใน REESS ที่สูงเกิน (Internal Overheating) ระหว่างการใช้งานรวมทั้งภาวะที่ระบบระบายความร้อน (ถ้ามี) บกพร่อง ทดสอบโดยการอัดประจุและคายประจุไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องด้วยกระแสไฟคงที่ ซึ่งจะเพิ่มอุณหภูมิของเซลล์ภายใน REESS อย่างรวดเร็วเท่าที่เป็นไปได้ และวาง REESS ในเตาอบพาความร้อน (Convective Oven) หรือตู้ควบคุมสภาวะ (Climatic Chamber) ซึ่งอุณหภูมิจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่กำหนด การทดสอบจะสิ้นสุดเมื่อ REESS ขัดขวางหรือจำกัดการอัดประจุหรือคายประจุเพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หรืออุณหภูมิของ REESS เสถียรตลอดระยะเวลา 2 ชั่วโมง9. การทนไฟ (Fire Resistance) เพื่อตรวจสอบการทนไฟของ REESS จากภายนอกรถยนต์ เช่น การรั่วไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงจากยานพาหนะ เพื่อให้เวลาผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารมีเวลาเพียงพอในการอพยพ ทดสอบที่ตัวรถหรือทดสอบเฉพาะชิ้นส่วน โดยเปลวไฟที่ใช้ในการเผาต้องมาจากน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์
เกณฑ์การยอมรับของการทดสอบที่ 1 - 8 1) ระหว่างการทดสอบต้องไม่พบการรั่วไหลของอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) การติดไฟ (Fire) และการระเบิด (Explosion) 2) สำหรับ REESS ที่มีแรงดันสูง (High Voltage) มากกว่า 60 V และน้อยกว่า 1,500 V สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง หรือ มากกว่า 30 V และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1,000 V สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ จะต้องไม่พบรอยแตกและความต้านทานการแยกกันทางไฟฟ้า (Isolation Resistance) ที่ถูกวัดหลังการทดสอบตามที่กำหนดต้องไม่น้อยกว่า 100 Ω/Vเกณฑ์การยอมรับของการทดสอบที่ 9 ต้องไม่แสดงร่องรอยของการระเบิดในอุปกรณ์ที่ทำการทดสอบ