ขั้นตอนการขอ ECO Sticker
ความเป็นมา
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ได้อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ (ภาษี CO2) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ควบคู่ไปกับการมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดแนวทางให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้นำเข้าต้องติดป้ายแสดงการประหยัดพลังงานและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือ ECO Sticker เพื่อเป็นกลไกสำคัญที่จะนำมาใช้ดำเนินการควบคู่กัน เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์) และกระทรวงการคลัง (กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร) ได้ร่วมมือกันในการเตรียมระบบงานเพื่อรองรับการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี
การเตรียมการในส่วนของ ECO Sticker และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการอนุมัติ ECO Sticker พร้อมแล้ว โดยสามารถรับยื่นเอกสารข้อมูลจากผู้ประกอบการรถยนต์ และสร้าง ECO Sticker ได้โดยอัตโนมัติ รวมทั้ง หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามปริมาณการปล่อย CO2 ของรถยนต์ภายใต้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559 นี้ได้โดยสะดวก
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ออกแบบและพัฒนาระบบดิจิทัลสำหรับการขออนุมัติ ECO Sticker ตามแนวทาง Government 4.0 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมพัฒนาระบบป้ายข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่
การดำเนินงานในช่วงปี 2556-2558
Cloud Based Application
ออกแบบระบบ ECO Sticker เป็น Cloud Based Application อย่างสมบูรณ์แบบ
การลงทะเบียนของผู้ประกอบการ (ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า)
การยื่นเอกสารผลทดสอบของผู้ประกอบการ
ระบบแสดงสถานะผลการตรวจสอบของแต่ละหน่วยงาน
การสร้างใบปะหน้าสรุปเอกสารผลทดสอบเพื่ออำนวยความสะดวกในการยื่นชำระภาษีสรรพสามิต
การสร้าง ECO Sticker เพื่อติดแสดงบนรถยนต์ทุกคัน
ฐานข้อมูลเพื่อการติดตามตรวจสอบของภาครัฐ
ข้อมูลและเอกสาร
บริษัท/บุคคล
ชื่อ (ไทย/อังกฤษ)
ที่อยู่, เบอร์โทร, เว็บไซต์
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขทะเบียนสรรพสามิต, เลขทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โลโก้บริษัท, ใบประกอบกิจการบริษัท, หนังสือรับรองบริษัท,ใบทะเบียนสรรพสามิตบริษัท/ใบทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (เอกสารแนบ)
ผู้บริหาร
ชื่อ
เลขประจำตัวประชาชน
เบอร์โทร, อีเมล
สำเนาบัตรประชาชน (เอกสารแนบ)
ผู้ประสานงาน
ชื่อ
เลขประจำตัวประชาชน
เบอร์โทร, อีเมล
สำเนาบัตรประชาชน (เอกสารแนบ)
หนังสือมอบอำนาจให้ผู้ประสานงานดำเนินการเกี่ยวกับป้ายข้อมูลรถยนต์ (เอกสารแนบ)
ทั้งนี้ ระบบได้นำข้อมูลบางส่วนจากระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม (i-Industry) มาแสดง (โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่) เพื่อความสะดวก และรวดเร็วมากขึ้น
Digital Economy : Cloud Based Application
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี Cloud Based Application ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความทันสมัย มีความคล่องตัว สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร มาใช้ในการขออนุมัติ ECO Sticker ทางออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบในทุกขั้นตอนขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับ ECO Sticker
ลงทะเบียนในระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม (i-Industry) ได้ที่ลิงค์ https://i.industry.go.th/register/
เมื่อลงทะเบียนผ่านแล้ว จะต้องเพิ่มข้อมูลกิจการหรือโรงงานของตนเอง หลังจากนั้น ไปที่หน้าหลักของระบบ i-Industry เลือกบริการยื่นขอใบอนุญาตออนไลน์ (e-License) เลือกคลิกเมนู ECO Sticker ตามประเภทผลิตภัณฑ์
ลงทะเบียนในระบบป้ายข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล (ECO Sticker) อีกครั้ง หลังจากนั้น ระบบจะส่ง Username และ Password ให้กับผู้ผลิต/ผู้นำเข้าทางอีเมล (โดย Username นี้จะนำมาใช้ในการเข้าใช้งานระบบ ECO Sticker ในครั้งแรกเท่านั้น)
ผู้ผลิต/ผู้นำเข้ายื่นข้อมูล หลักฐาน เอกสารของรถยนต์ที่จะขอ ECO Sticker
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมสรรพสามิต และหน่วยทดสอบ (Technical Service) เข้าตรวจเอกสารที่หน่วยงานนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ
ระบบสร้าง ECO Sticker และส่งกลับให้ ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ที่ยื่นขอ
ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า นำ ECO Sticker ไปยื่นเป็นหลักฐานขอลดหย่อนภาษีกับกรมสรรพสามิต หรือกรมศุลกากร
ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า นำ ECO Sticker ไปติดไว้ที่กระจกบังลมด้านหน้าหรือกระจกด้านข้าง ในตำแหน่งที่สามารถอ่านข้อมูลของป้ายจากด้านนอกตัวรถได้อย่างสะดวกและชัดเจน บนรถยนต์ใหม่ทุกคัน ก่อนที่จะส่งไปยังผู้จำหน่ายรถยนต์ในเครือข่าย (Dealer) หรือสถานที่จัดแสดงรถยนต์ หรือสถานที่จำหน่ายรถยนต์