มาตรฐานความปลอดภัยใน ECO Sticker มีอะไรบ้างABS+ESCมาตรฐานความปลอดภัย
ระบบเบรค ABS หรือ Anti-Lock Brake System คือ ระบบเพื่อการเบรคที่ปลอดภัย สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเบรคจน “ล้อล็อก” จนทำให้รถเสียหลักหรือไถลจนคุมทิศทางไม่ได้ รถที่ใช้งานระบบเบรค ABS จึงสามารถคุมทิศทางของรถได้ขณะเบรคฉุกเฉิน เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ในเวลาเกิดอุบัติเหตุหรือเวลาที่ต้องเบรคกระทันหัน
ระบบป้องกันการพลิกคว่ำและลื่นไถลขณะเข้าโค้ง ESC หรือ Electronic Stability Control คือ ระบบสั่งการควบคุมการเบรกของแต่ละล้อให้เหมาะสม และควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติเมื่อรถสูญเสียการทรงตัว
UN R13 และ UN R13Hมาตรฐานระบบเบรก
UN R13 (สำหรับรถกระบะ / รถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์)UN R 13H (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล)ข้อกำหนดทางเทคนิค ประกอบด้วยการทดสอบ 7 ลักษณะ ดังนี้  1) การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกเย็น (Type O) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงและระยะทางในการหยุดรถ ในแต่ละสภาวะ ดังนี้  1.1 สภาวะปกติที่ระบบเบรกทำงานอย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย การทดสอบรถยนต์ที่ 2 ระดับความเร็ว ได้แก่ ระดับความเร็วปกติ คือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และระดับความเร็วสูง (ร้อยละ 80 ของความเร็วสูงสุด แต่ไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)  1.2 สภาวะระบบเบรกวงจรซ้ายหรือขวา ไม่ทำงาน  1.3 สภาวะหม้อลมช่วยเบรกไม่ทำงาน  1.4 สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS : Antilock Braking System) ไม่ทำงาน  1.5 สภาวะระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS : Antilock Braking System)/ ระบบกระจายแรงเบรก (EBD : Electronic Brake Force Distribution) ไม่ทำงานทั้งนี้ การทดสอบข้างต้น จะกระทำทั้งกรณีมวลบรรทุกสูงสุด (Laden) และมวลรถเปล่า (Unladen) รวมทั้ง การทดสอบในกรณีเครื่องยนต์ดับ  2) การทดสอบสมรรถนะห้ามล้อ ขณะระบบเบรกร้อน (Type I) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบเบรกในสภาวะที่มีความร้อนสะสม ทั้งในกรณีความร้อนสะสมสูงและความร้อนสะสมไม่สูง โดยการจำลองสถานการณ์การเบรก จำนวนหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อทาให้เบรกร้อนขึ้น หลังจากนั้น จึงทดสอบการทำงานของระบบเบรกในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จนกระทั่งหยุดนิ่ง เพื่อวัดค่าความหน่วงแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  3) การทดสอบเบรกมือ เป็นการทดสอบความสามารถในการจอดรถบนพื้นเอียง ที่มีระดับความชันร้อยละ 20 (กรณีมวลบรรทุกสูงสุด) และระดับความชันร้อยละ 12 (กรณีมวลบรรทุกสูงสุด+Trailer) เพื่อวัดค่าแรงที่ใช้ในการเบรกจากมือและเท้า รวมทั้งความสามารถในการหยุดรถ ที่ระดับความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้เบรกมือ  4) การทดสอบระบบช่วยเหลือการเบรก (BAS : Brake Assist System) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบช่วยเหลือการเบรก (ระบบควบคุมแรงเบรก)  5) การทดสอบระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS : Antilock Braking System-ABS) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ABS ซึ่งโดยหลักการแล้ว ประสิทธิภาพในการเบรกเมื่อ ระบบ ABS ทำงาน (ด้วยการจับ-ปล่อยเบรกเป็นบางช่วง) จะต้องไม่ส่งผลให้ความสามารถในการเบรกลดต่ากว่าค่าที่กำหนด (ไม่ต่ากว่าร้อยละ 75 ของแรงเบรกสูงสุด) ทั้งนี้ จะมีการทดสอบสมรรถนะของ ABS ในการหยุดรถบนพื้นผิวที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ ดังนี้  5.1 การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง (Hi-μ)  5.2 การหยุดรถบนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่า (Low-μ)  5.3 การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูงไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่า  5.4 การหยุดรถจากพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่าไปยังพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง  5.5 การหยุดรถในกรณี ล้อของรถด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานสูง และล้อของรถอีกด้านหนึ่งอยู่บนพื้นผิวที่มีแรงเสียดทานต่านอกจากนี้แล้ว ยังมีการทดสอบการทำงานของระบบไฟเตือน และสภาพการวิ่งของรถยนต์ในขณะเบรกในกรณีที่ระบบ ABS ไม่ทำงาน รวมทั้ง การทดสอบการทำงานของระบบ ABS ภายใต้การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility) อีกด้วย  6) การทดสอบสัญญาณไฟฉุกเฉิน (Emergency Stop Signal)เป็นการทดสอบการให้สัญญาณไฟฉุกเฉินซึ่งจะต้องทำงาน หากมีการเบรกอย่างแรง (กรณีฉุกเฉิน)  7) การทดสอบระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Stability Control System-ESC System) เป็นการทดสอบสมรรถนะของระบบ ESC โดยการสร้างสถานการณ์การหลบหลีกกะทันหันในขณะที่รถยนต์วิ่งด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติควบคุมการหักเลี้ยวรถยนต์ไปกลับอย่างกะทันหัน (องศาการเลี้ยวสูงสุดที่ 270 องศา) ทั้งนี้ รถยนต์ที่ผ่านมาตรฐานจะต้องไม่เสียหลักและยังคงรักษาทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างสมบูรณ์ หรือ มีการเบี่ยงเบนได้ไม่เกินค่าที่กำหนด
UN R94 และ UN R95มาตรฐานการปกป้องผู้โดยสาร
UN R94 การชนด้านหน้าการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความปลอดภัยของยานยนต์ในการปกป้องผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าข้อกำหนดทางเทคนิคUN R94 เป็นการทดสอบโดยรถยนต์ทดลอง ซึ่งจะมีหุ่นจำลองของผู้ขับขี่และผู้โดยสารเคลื่อนที่โดยใช้เครื่องมือฉุดลาก ด้วยความเร็วระหว่าง 56-57 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พุ่งเข้าชนแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ แบบเยื้องศูนย์ด้านหน้า 40% ของรถยนต์ภายหลังการชนจะมีการ- สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว , การบาดเจ็บที่คอ , การรับแรงที่หน้าอก , แรงกดที่หน้าแข้ง , การเคลื่อนตัวของข้อต่อหัวเข่า และการรับแรงที่ขา- การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที- การเคลื่อนที่ของพวงมาลัย ต้องไม่สูงเกินกว่า 80 มิลลิเมตรในแนวดิ่ง และต้องไม่เคลื่อนตัวไปในข้างหลังในแนวระดับ 100 มิลลิเมตร- ต้องเปิดประตูได้อย่างน้อยหนึ่งประตูและสามารถนำหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้- ต้องปลดล็อคระบบ Restraint โดยใช้แรงไม่เกิน 60 นิวตัน
UN R95 การชนด้านข้างข้อกำหนดทางเทคนิค UN R95 จะเป็นการทดสอบโดยนำแบบจำลองหัวรถยนต์ที่สามารถยุบตัวได้ เคลื่อนที่พุ่งเข้าชนรถยนต์ทดสอบซึ่งจอดอยู่นิ่งในแนวตั้งฉากด้านข้าง (ด้านผู้ขับขี่) ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงภายหลังการชน จะมีการทดสอบดังนี้- สภาพของหุ่นจำลอง (ผู้ขับขี่) ได้แก่ การบาดเจ็บที่หัว , การบาดเจ็บที่หน้าอก , แรงกดที่หน้าท้องและแรงกดที่หัวหน่าว- การรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบป้อนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถเกิดขึ้นได้แต่ต้องไม่เกินกว่า 30 กรัมต่อนาที- ต้องสามารถนำหุ่นจำลองออกจากรถทดสอบได้- ต้องสามารถปลดล็อคระบบป้องกันได้- ไม่มีการเสียรูปของอุปกรณ์ภายในที่ทำให้แหลมคมและมีอัตราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ