มาตรฐานมลพิษ
โดยทั่วไป รถยนต์จะมีการปล่อยสารมลพิษไอเสีย ที่เกิดจากการสันดาปภายในออกมาทางท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ก๊าซไฮโดรคาร์บอน, ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สารมลพิษไอเสียเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เมื่อคนเดินถนนสูดดมเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการวิงเวียนและอ่อนเพลีย ส่วนก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน จะทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจ ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อควบคุมปริมาณสารมลพิษไอเสียเหล่านี้ และทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น ประเทศต่างๆ จึงมีการกำหนดมาตรฐานมลพิษของรถยนต์ที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์นั้น ถ้าเป็นการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ จะเกิดก๊าซ CO2 ออกมาทางท่อไอเสียของรถยนต์ โดยปริมาณ CO2 ที่ออกมานั้น จะมีความสัมพันธ์ทางตรงกับปริมาณเชื้อเพลิงที่เติมเข้าไปในรถยนต์ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ จะใช้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี รถยนต์ที่ปล่อยก๊าซ CO2 น้อย จะมีการใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า ส่วนรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซ CO2 สูง จะมีการใช้เชื้อเพลิงมาก การวัดปริมาณก๊าซ CO2 จะทำการทดสอบภายใต้ข้อกำหนดทางเทคนิค UN R101 ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะทำการทดสอบในครั้งเดียวกับการทดสอบมลพิษ UN R83, ลักษณะที่ 1 : ปริมาณสารมลพิษภายหลังการติดเครื่องขณะเย็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมในรถยนต์ จะประกอบด้วยสารคาร์บอนเป็นหลัก โดยน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกเผาไหม้ในเครื่องยนต์เพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถยนต์ หากการเผาไหม้ของน้ำมันเป็นไปอย่างสมบูรณ์ รถยนต์จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ออกมาทางท่อไอเสีย ในขณะที่ หากเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ CO จะออกมาแทน เมื่อคำนึงถึงหลักการ “Carbon Balance” สามารถสรุปได้ว่า หากปริมาณคาร์บอนของมลพิษไอเสียมาก ก็หมายความว่า รถยนต์คันนั้น บริโภคน้ำมันมาก ในทำนองเดียวกัน หากปริมาณคาร์บอนของมลพิษไอเสียน้อย ย่อมหมายถึง รถยนต์คันนั้นบริโภคน้ำมันน้อยด้วยเช่นกัน
ในส่วนของขั้นตอนการทดสอบอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องนำรถยนต์ทดสอบมาวิ่งบนลูกกลิ้งหรือแชสซีส์ไดนาโมมิเตอร์ในห้องปฏิบัติการ ณ ระดับความเร็วต่างๆ ตามช่วงเวลาที่กำหนด การวิ่งทดสอบจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะในเมือง จำนวน 4 วัฏจักร ระยะเวลา 780 วินาที ส่วนช่วงที่สอง เป็นการจำลองการขับรถยนต์ตามสภาวะนอกเมือง จำนวน 1 วัฏจักร ระยะเวลา 400 วินาที การวิ่งรถยนต์ในสองสภาวะดังกล่าว จะมีการวัดปริมาณก๊าซ CO2 ของสภาวะในเมือง และนอกเมือง เมื่อได้ปริมาณก๊าซ CO2 แล้ว ระบบจะทำการวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำมันอ้างอิงของรถยนต์จากสูตรนี้
น้ำมันเบนซิน
ข้อมูลอัตราการใช้น้ำมัน (หน่วย ลิตร/100 กิโลเมตร หรือ กิโลเมตรต่อลิตร) ซึ่งผ่านการทดสอบตามหลักเกณฑ์ UN R101 ในห้องปฏิบัติการ จะต้องประกอบด้วย 3 สภาวะ ได้แก่ สภาวะรวม (Combined) สภาวะในเมือง (Urban) และสภาวะนอกเมือง (Extra-Urban) โดยอัตราการใช้น้ำมัน
อุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ อันนำมาซึ่งความเสียหายต่อร่างกาย ทรัพย์สิน และระบบเศรษฐกิจ เพื่อลดความเสียหายดังกล่าว ภาครัฐจึงส่งเสริมให้รถยนต์มีการติดตั้งระบบที่จะช่วยให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารมีความปลอดภัยต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety) ได้แก่ มาตรฐานระบบเบรก (R13 หรือ R 13H) และระบบความปลอดภัยเชิงปกป้องเมื่อเกิดเหตุ (Passive Safety) ได้แก่ มาตรฐานปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านหน้าของตัวรถ (R94) และมาตรฐานปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านข้างของตัวรถ (R95)
ในส่วนของระบบเบรกที่มีมาติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการล็อก (ABS) และระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC) สำหรับรถยนต์นั่ง จะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐาน UN R13 ส่วนสำหรับรถตู้ รถบรรทุก และรถลาก จะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐาน UN R13
หมายเหตุ :